บริการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ
บริการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ
  • HOME
  • ABOUT US
  • AIR FREIGHT
  • SEA FREIGHT
  • CUSTOMS CLEARANCE
  • BLOG
  • NEWS
  • CONTACT US
  • HOME
  • ABOUT US
  • AIR FREIGHT
  • SEA FREIGHT
  • CUSTOMS CLEARANCE
  • BLOG
  • NEWS
  • CONTACT US

"ภาษีนำเข้า" คิดจากอะไร คิดยังไง ?

16/8/2019

0 Comments

 
Picture
เชื่อว่าผู้นำเข้าหลายคนคงเคยสงสัยว่าภาษีนำเข้าคิดจากอะไร คิดยังไง วันนี้เราจะสอนวิธีการคำนวณภาษีนำเข้ากันค่ะ

โดยทั่วไปแล้วก่อนที่ผู้นำเข้าสินค้า จะนำเข้ามานั้น ก็คงต้องอยากทราบโดยคร่าวๆ ก่อนว่าภาษีนำเข้า หรือ อากรขาเข้าที่ต้องชำระประมาณเท่าไร เพื่อนำไปคำนวณต้นทุนในการนำเข้าสินค้าหรือประกอบการตั้งราคาสินค้าเพื่อขาย ซึ่งก่อนที่เราจะคำนวณภาษีนำเข้าได้นั้นต้องทราบก่อนว่าสินค้าเรา เสียภาษีนำเข้ากี่ % การที่เราจะทราบได้ว่าเสียภาษีนำเข้ากี่ % เราก็ต้องรู้ก่อนว่า พิกัดสินค้าเรา หรือ เลข HS Code ของสินค้าเราคือเลขอะไร หลังจากที่เราทราบทุกอย่างแล้ว กรมศุลกากรมีวิธีการคิดภาษีนำเข้าโดยใช้ราคา CIF (Cost Insurance and Freight) ราคา CIF มาจากไหน ก็มาจาก 3 ค่านี้บวกกัน คือ C+I+F

Cost  = มูลค่าของสินค้าที่นำเข้ามา ( C )
Insurance = ประกันภัยสินค้า ( I )
Freight = ค่าขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ( F )

ซึ่งวิธีคำนวณภาษีนำเข้าอาจจะดูเหมือนคำนวณง่ายๆ แต่จริงๆแล้ว แฝงไปด้วยความซับซ้อน ดังนั้นเรามาดูกันว่าคำนวณยังไง

วิธีคำนวณภาษีนำเข้า ดังนี้

สมมติถ้าผู้นำเข้าต้องการนำเข้ารถแทรกเตอร์จากต่างประเทศ

พิกัดสินค้า หรือ  HS CODE คือ 8701.1091 อัตราภาษีนำเข้า 5%

ถ้าราคารถแทรกเตอร์ 800,000 บาท
คำนวณ ราคา CIF
C = มูลค่าสินค้า = 800,000 บาท

I = ประกันภัย = 1% (*ในกรณีที่ไม่ได้ทำประกัน ) = 8,000 บาท

F = ค่าขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ = 50,000 บาท

(มูลค่าสินค้า + ประกันภัย + ค่าขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ) = ราคา CIF
(800,000+8,000+50,000) = 858,000
ราคา CIF ของรถแทรกเตอร์ = 858,000 บาท

(ราคา CIF x อัตราภาษีนำเข้า) = ภาษีนำเข้า
 858,000 x 5% = 42,900 บาท
ภาษีนำเข้า = 42,900 บาท

หลังจากนั้น เอา ราคา CIF + อัตราภาษีนำเข้า ไปคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มที่ 7%
(ภาษี + ราคา CIF) x อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม = ภาษีมูลค่าเพิ่ม
(42,900+858,000) x 7% = 63,063 บาท
ภาษีมูลค่าเพิ่ม = 63,063 บาท

ภาษีนำเข้า + ภาษีมูลค่าเพิ่ม = ค่าภาษีทั้งหมดที่ต้องชำระ
 42,900 + 63,063 = 105,963 บาท

ดังนั้นรถแทรกเตอร์จะมีภาษีทั้งหมดที่ต้องชำระ = 105,963 บาท

เป็นยังไงบ้างกับการคำนวณภาษีนำเข้า เชื่อว่าถ้าทุกคนคำนวณตามขั้นตอนนี้ คำนวณภาษีนำเข้าเองเป็นได้แน่นอน

**เกร็ดความรู้**:  ประกันภัยสินค้า (Insurance) เราสามารถทำได้กับบริษัทประกันภัย โดยค่าเบี้ยประกันจะขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้าและมูลค่าของสินค้านั้นๆ *ถ้าไม่ทำจะคิดที่ 1 % ของมูลค่าสินค้าและไม่สามารถเคลมได้เมื่อสินค้าเกิดความเสียหาย) แนะนำให้ทำประกันภัยสินค้านอกจากจะเคลมได้จริงแล้ว ยังจะช่วยทำให้ฐานในการคำนวณภาษีอาจจะลดลงได้ด้วย เนื่องจากสินค้าโดยส่วนใหญ่คิดค่าเบี้ยประกันภัย ไม่ถึง 1 %

0 Comments

เงื่อนไขการค้าระหว่างประเทศ ที่ผู้ซื้อ ผู้ขาย ควรรู้!!!

14/6/2016

1 Comment

 
Picture
เงื่อนไขการค้าระหว่างประเทศ (INCOTERMS)

       โดยปกติแล้ว ในการค้าระหว่างประเทศจะมีเงื่อนไขทางการค้า (Trade Terms) ที่ใช้กันเป็นประจำ เป็นต้นว่า FOB หรือ CIF หรืออะไรอื่นๆ อีกหลายอย่าง ถ้าจะว่าไปแล้วเงื่อนไขทางการค้านี่แหละ เป็นสาระสำคัญที่ช่วยให้ผู้ซื้อ และผู้ขายทราบว่า ใครจะต้องทำอะไรบ้าง จะรับภาระหน้าที่ไปแค่ไหน อาทิเช่น ผู้ขายต้องรับภาระในเรื่องของความเสี่ยง (Risk) เพียงใดถึงจุดใดและต้องรับภาระ ในเรื่องค่าใช้จ่าย (Cost) เพียงใด ถึงจุดใด รวมทั้งที่จะต้องรับหน้าที่ในการจัดหา ยานพาหนะขนส่งหรือไม่ เพียงใด ด้วย หรือว่าอีกอย่างหนึ่ง ผู้ซื้อจะต้องเริ่มรับภาระของความเสี่ยง เพียงใดจากจุดใด และต้องรับภาระเรื่องค่าใช้จ่าย เพียงใด จากจุดใด ตลอดจนหน้าที่ในการจัดยานพาหนะขนส่งด้วย ว่าจะต้อง เริ่มจากจุดไหนไปถึงจุดไหน สรุปแล้ว Trade Terms มีไว้ตัดสินว่าสินค้าที่ซื้อขายกันนั้นได้มีการส่งมอบ (Delivery) ณ จุดไหน เพราะว่าตามประเพณีทางการค้านั้น ในเมื่อมีการส่งมอบแล้วความเสี่ยงจะเปลี่ยนมือจากผู้ขายไปอยู่ ทางฝ่ายผู้ซื้อทันที
Picture
Incoterms 2010 แบ่ง Terms ออกเป็นกลุ่มๆ รวม 4 กลุ่ม หรือทั้งหมด 11 เงื่อนไข ดังนี้
  1. กลุ่ม E (ออกจากต้นทาง –Departure) ได้แก่
  • EXW- EX Works (ขายหน้าโรงงานหรือโกดัง)
    • ผู้ขาย ไม่ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายใดๆ เพียงแต่กองของไว้รอผู้ซื้อมารับ และให้ Invoice กับ Packing list เท่านั้น ไม่ต้องทำพิธีการส่งออก แต่ต้องช่วยผู้ซื้อในกรณีที่ต้องขอใบอนุญาตส่งออก กและเอกสารอื่นๆ ที่จำเป็น โดยค่าใช้จ่ายเป็นของผู้ซื้อ
    • หากมีกรณีขอร้องให้ผู้ขายยกสินค้าขึ้นรถให้ผู้ซื้อ ผู้ขายไม่ต้องเสี่ยงต่อความรับผิดเมือของเสียหายระหว่างการขนย้ายขึ้นรถบรรทุก ค่ายกขนเป็นของผู้ซื้อ
    • ผู้ซื้อกำหนดการขนส่งและผู้ขนส่งเองทั้งหมด
    • จุดส่งมอบสินค้า: หน้าโรงงาน หรือที่ที่ตกลง หรือที่ที่เหมาะสมหากมีหลายที่ทีต้องส่งของ และต้องส่งมอบในวันที่กำหนด
    • สิ่งที่สำคัญคือ ผู้ซื้อต้องระบุ สถานที่ส่งมอบและเวลาอย่างชัดเจน
    • ผู้ซื้อต้องออกใบรับสินค้าให้กับผู้ขายเป็นหลักฐาน
      2.   กลุ่ม F (ค่าขนส่งหลักหรือค่าขนส่งข้ามประเทศ ยังไม่จ่าย – Main Carriage Unpaid)
  • ​FCA  - Free Carrier (ส่งของไปยัง...สถานที่ที่ระบุ)
    • ผู้ขาย ส่งมอบของให้กับผู้ขนส่งหรือใครก็ตามที่ผู้ซื้อกำหนดให้เป็นผู้รับของ โดยส่งที่ สถานที่ของผู้ส่ง/ผู้ขายเองก็ได้ หรือส่งตามสถานที่ที่ถูกกำหนดโดยผู้ซื้อ
    • ผู้ขาย ต้องทำหีบห่อ พิธีการขาออก ทำใบอนุญาตส่งออก
    • ผู้ขาย ไม่ต้องทำประกันภัย และถ้าหากผู้ซื้อไม่ระบุผู้ขนส่งหรือเป็นประเพณีปฎิบัติ ผู้ขายสามารถเข้าทำสัญญขนส่งเองได้โดยค่าใช้จ่ายเป็นของผู้ซื้อ
  • FAS – Free Alongside Ship (ส่งมอบข้างเรือ)
    • ผู้ขาย ส่งมอบสินค้าที่ข้างเรือที่เทียบท่าหรือที่เรือจอด ตรงจุดที่กำหนด
    • ถ้าไม่กำหนด ผู้ขาย “จัดให้” ตามความเหมาะสม
    • ถ้าเรือเข้าไม่ตรงตามเวลา หรือ ผู้ซื้อไม่ได้แจ้งให้ผู้ขายทราบถึงวันเวลาของเรือ หากผู้ขายได้ส่งมอบแล้ว ค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงทุกอย่างเป็นของผู้ซื้อ
    • ผู้ซื้อเป็นผู้กำหนดผู้ขนส่ง และซื้อประกันภัยเองและจ่ายค่าตรวจสอบสินค้าก่อนลงเรือ
  • FOB – Free On Board (ส่งมอบสินค้าบนเรือ)
    • การส่งมอบถือว่าสิ้นสุดเมื่อสินค้าลงเรือและความรับผิดชอบของผู้ขายสิ้นสุดเมื่อสินค้าลงเรือเช่นกัน
    • ผู้ขายจะจ่าย ค่าหีบห่อ ค่าโกดัง ค่าแรงขนขึ้นรถ ค่ารถบรรทุกจากโรงงานตนเองไป ถึงท่าเรือที่ผู้ซื้อกำหนด ค่าผ่านประตู ค่าภาระท่า ค่าใบตราส่ง ค่าเอกสาร ค่าโกดัง และค่าพิธีการศุลกากร ค่าใบรับรองแหล่งกำเนิด ค่าธรรมเนียมสถานทูต ค่าบริการ การส่งมอบต้องส่งในวันเวลา สถานที่ ที่กำหนดเท่านั้น
    • ผู้ซื้อเป็นคนกำหนดการขนส่งและผู้ขนส่งตั้งแต่ท่าเรือต้นทางเป็นต้นไป
      3.  กลุ่ม C (ค่าขนส่งหลักหรือค่าขนส่งข้ามประเทศจ่ายแล้ว - Main Carriage Paid )
  • ​CFR – Cost and Freight (ส่งมอบแบบราคาสินค้าบวกค่าระวางส่งถึงท่าปลายทาง)
    • ผู้ขายส่งสินค้าลงเรือเรียบร้อยที่ต้นทางแต่จ่ายค่าระวางถึงเมืองท่าปลายทาง
    • การส่งมอบต้องส่งในวันเวลา สถานที่ ที่กำหนดเท่านั้น
    • ผู้ขายจะจ่ายค่าแรงขนขึ้นรถ ค่ารถบรรทุกจากโรงงานตนเองไปถึงท่าเรือที่ผู้ซื้อกำหนด ค่าผ่านประตู ค่าภาระท่า ค่าใบตราส่ง ค่าเอกสาร ค่าโกดัง ค่าพิธีการศุลกากร ค้าใบรับรองแหล่งกำเนิด ค่าธรรมเนียมสถานทูต ค่าบริการ และค่าระวางเรือ
    • ผู้ขายเป็นผู้กำหนดการขนส่งและผู้ขนส่งระหว่างประเทศ
  • CIF -  Cost,Insurance and Freight (ส่งมอบแบบราคาสินค้าบวกค่าระวางและประกันภัย)
    • การส่งมอบเหมือนกับ CFR แต่เพิ่มประกันภัยเข้าไป ความรับผิดชอบของผู้ขาย สิ้นสุดเมื่อสินค้าลงเรือเรียบร้อย
    • ผู้ขายจะจ่ายค่าแรงขนขึ้นรถ ค่ารถบรรทุกจากโรงงานตนเองไปถึงท่าเรือที่ผู้ซื้อกำหนด ค่าผ่านประตู ค่าภาระท่า ค่าใบตราส่ง ค่าเอกสาร ค่าโกดัง ค่าพิธีการศุลกากร ค่าใบรับรองแหล่งกำเนิด ค่าธรรมเนียมสถานทูต ค่าบริการ และค่าระวางเรือ และค่าประกันภัย Minimum Clauses (C) จากโรงงานของผู้ขายไปยัง ท่าเรือ ปลายทางหรือโรงงานลูกค้า
    • การส่งมอบต้องส่งในวันเลา สถานที่ ที่กำหนดเท่านั้น
    • ผู้ขายเป็นผู้กำหนดการขนส่งและผู้ขนส่งระหว่างประเทศ
  • CPT – Carriage Paid to (การส่งมอบถึงสถานที่กำหนดที่ปลายทาง)
    • ผู้ขายและผู้ซื้อจะต้องตกลงกันก่อนว่า จุดส่งมอบของอยู่ที่ไหนและที่หมายปลายทาง ของสินค้าอยู่ที่ไหน เพราะอยู่คนละที่
    • ผู้ขายและผู้ซื้อจะต้องตกลงกันก่อนว่า จุดส่งมอบของอยู่ที่ไหนและที่หมายปลายทาง ของสินค้าอยู่ที่ไหน เพราะอยู่คนละที่
    • ผู้ขายต้องยกสินค้าขึ้นและลงตอนส่งมอบ และต้องจ่ายค่ายกเอง
    • ผู้ขายไม่ต้องทำ Insurance
    • ผู้ขายหมดความรับผิดชอบเมื่อได้ส่งมอบสินค้าที่จุดส่งมอบจุดแรกไม่ใช่ที่จุดหมายปลายทาง
    • ความเสี่ยงของผู้ซื้อเริ่มตั้งแต่ผู้ขายส่งมอบสินค้าให้ผู้ขนส่ง
    • ผู้ขายจะจ่ายค่าแรงขนขึ้นรถ ค่ารถบรรทุกจากโรงงานตนเองไปถึงจุดส่งมอบที่ต้นทาง บวก ค่าผ่านประตู ค่าภาระท่า ค่าใบตราส่ง ค่าเอกสาร ค่าโกดัง ค่าพิธีการศุลกากร ค่าใบรับรองแหล่งกำเนิด ค่าธรรมเนียมสถานทูต ค่าบริการต่างๆ ที่ต้นทาง และค่าระวางเรือ และค่าขนส่งในต่างประเทศจนถึงสถานที่ที่กำหนดที่ปลายทาง แต่ไม่รวมพิธีการศุลกากรที่ปลายทาง
  • CIP – Carriage and Insurance paid to (การส่งมอบถึงสถานที่กำหนดที่ปลายทางพร้อมประกันภัย)
    • ผู้ขายหมดความรับผิดชอบเมื่อได้ส่งมอบสินค้าที่จุดส่งมอบ ไม่ใช่ที่จุดหมายปลายทาง
    • ความเสี่ยงของผู้ซื้อเริ่มต้นตั้งแต่ผู้ขายส่งมอบสินค้าให้ผู้ขนส่ง
    • ผู้ขายจะจ่ายค่าแรงขนขึ้นรถ ค่ารถบรรทุกจากโรงงานตนเองไปถึงจุดส่งมอบ บวก ค่าผ่านประตู ค่าภาระท่า ค่าใบตราส่ง ค่าเอกสาร ค่าโกดัง ค่าพิธีการศุลกากร ค่าใบรับรองแหล่งกำเนิด ค่าธรรมเนียมสถานทูต ค่าบริการต่างๆ ที่ต้นทาง และค่าระวางเรือและค่าขนส่งในต่างประเทศจนถึงสถานที่ที่กำหนด และประกันภัย แต่ไม่รวมพิธีการศุลกากรที่ปลายทาง
    • ค่ายกของลงเป็นของผู้ขายภายใต้เงื่อนไขการขนส่งปกติ
      4.  กลุ่ม D (ถึงปลายทาง - Arrival)
  • ​DAT – Delivered At Terminal (ส่งมอบที่เทอร์มินอลในท่าเรือหรือสถานที่ปลายทาง)
    • เทอร์มินอล หมายความถึง สถานที่ที่หนึ่งที่ใดของปลายทาง, ในท่าเรือ, โกดังสินค้า, ลานตู้ตอนเทนเนอร์, สถานีรถไฟ, สถานีรถบรรทุก, ท่าอากาศยาน
    • ทั้งสองฝ่ายต้องกำหนดจุดส่งมอบในเทอร์มินอลนั้นๆ
    • ถ้าเทอร์มินอลไม่ได้ถูกระบุชัดเจน ผู้ขายมีสิทธิ์ในการส่งไปยังเทอร์มินอลที่ไหนก็ได้ ที่เห็นว่าเหมาะสม
    • ความรับผิดชอบของผู้ขายจะสิ้นสุดที่จุดส่งมอบดังกล่าวด้วยการยกของลงจากพาหนะ ที่ขนส่ง ในวันเวลาหรือระยะเวลาที่กำหนด
    • ผู้ขายจะจ่ายค่าแรงขึ้นรถ ค่ารถบรรทุกจากโรงงานตอนเองไปถึงท่าเรือ ค่าผ่านระตู ค่าภาระท่า ค่าใบตราส่ง ค่าเอกสาร ค่าโกดัง ค่าพิธีการศุลกากร ค่าใบรับรองแหล่งกำเนิด ค่าธรรมเนียมสถานทูต ค่าบริการ และค่าระวางเรือจนถึง เทอร์มินอลที่กำหนดแต่ไม่รวมพิธีการศุลกากรที่ปลายทางและประกันภัย
    • ค่ายกของลง ผู้ขายจ่าย
  • DAP – Deliverd At Place (ส่งมอบของที่สถานที่ที่กำหนดไว้เฉพาะ)
    • ทั้งสองฝ่ายต้องกำหนดจุดส่งมอบในสถานที่ที่กำหนดไว้
    • ถ้าสถานที่ไม่ได้ถูกระบุชัดเจน ผู้ขายมีสิทธิ์ในการส่งไปยังสถานที่ที่ไหนก็ได้ที่ เห็นว่าเหมาะสม
    • ความรับผิดชอบของผู้ขายจะสิ้นสุดที่จุดส่งมอบดังกล่าวโดยมีของอยู่บนพาหนะที่ขนส่ง ในวันเวลาหรือระยะเวลาที่กำหนด
    • ผู้ขายจะจ่ายค่าแรงขนขึ้นรถ ค่ารถบรรทุกจากโรงงานตอนเองไปถึงท่าเรือ ค่าผ่านประตู ค่าภาระท่า ค่าใบตราส่ง ค่าเอกสาร ค่าโกดัง ค่าพิธีการศุลกากร ค่าใบรับรองแหล่งกำเนิด ค่าธรรมเนียมสถานทูต ค่าบริการ และค่าระวางเรือ จนถึงสถานที่ที่กำหนดแต่ไม่รวมพิธีการศุลกากรที่ปลายทางและประกันภัย
  • DDP – Delivered Duty Paid
    • เป็นเงื่อนไขที่ผู้ขายรับผิดชอบมากที่สุด
    • ภาษีหมายรวมถึง VAT ด้วยที่ต้องจ่าย ไม่ใช่แค่อากรอย่างเดียว
    • ผู้ขายต้องกำหนดการขนส่งและผู้ขนส่ง และทั้งสองฝ่ายต้องตกลงว่าจะให้ส่งของที่ไหน ถ้าไม่มีการตกลงผู้ขายมีสิทธี์เลือกสถานที่ส่งมอบให้ตามความเหมาะสม
    • ผู้ขายไม่ต้องทำประกันภัยให้
    • ผู้ขายไม่ต้องยกสินค้าลงจากรถเมื่อถึงจุดส่งมอบของ
    • ความรับผิดของผู้ขายสิ้นที่จุดส่งมอบ
    • ผู้ขายจะจ่ายค่าแรงขนขึ้นรถ ค่ารถบรรทุกจากโรงงานตนเองไปถึงท่าเรือ ค่าผ่านประตู ค่าภาระท่า ค่าใบตราส่ง ค่าเอกสาร ค่าโกดัง ค่าพิธีการศุลกากร ค่าใบรับรองแหล่งกำเนิด ค่าธรรเนียมสถานทูต ค่าบริการ ค่าระวางเรือ และค่าขนส่งในต่างประเทศจนถึงสถานที่ที่กำหนด รวมพิธีการศุลกากรที่ปลายทางและภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีอื่นๆและอาการ
1 Comment

สินค้าอะไรบ้างที่ต้องได้รับอนุญาตก่อนนำเข้ามาภายในประเทศ?

23/3/2016

0 Comments

 
Picture
การที่เราจะนำเข้าสินค้า เราต้องทำการศึกษาก่อนว่าสินค้านั้น เป็นสินค้าควบคุมการนำเข้า-ส่งออก หรือไม่ โดยเจ้าหน้าที่ศุลกากรจะมีหน้าที่ในการควบคุมการนำเข้า-ส่งออกของ*สินค้าต้องกำกัด โดยจะทำการตรวจว่าสินค้านั้นๆ ได้รับอนุญาตหรือปฎิบัติตามกฎหมายครบถ้วนหรือไม่  โดยมีหน่วยงานของภาครัฐ เป็นผู้ออกใบอนุญาตตามชนิดของสินค้าแต่ละประภท    เมื่อพิจราณาครบถ้วนแล้ว เจ้าหน้าศุลกากรจึงจะการทำอนุญาตให้นำสินค้านั้นๆ เข้ามาภายในประเทศได้ ดังนั้นไม่ว่าเราจะนำเข้าสินค้าอะไรเข้ามาก็ตาม เราควรศึกษาก่อนว่าสินค้านั้นๆ เป็นสินค้าควบคุมการนำเข้าหรือไม่

สินค้าควบคุมหรือสินค้าที่ต้องได้รับอนุญาตก่อนการนำเข้า และหน่วยที่ทำหน้าที่ในการออกใบอนุญาตของสินค้าแต่ละประเภท มีดังนี้
  • อาหาร เครื่องสำอาง ติดต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
  • ยา เภสัชเคมีภัณฑ์ ติดต่อกรมการค้าต่างประเทศ และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
  • รถยนต์ รถจักรยายนที่ใช้แล้ว เครื่องยนต์ที่ใช้แล้ว ติดต่อกรมการค้าต่างประเทศ
  • สัตว์น้ำและซากสัตว์น้ำ ติดต่อกรมประมง
  • ช้าง ม้า โค กระบือ ลา ล่อ แพะ แกะ สุกร สุนัข แมว กระต่าย ลิง ชะนี นก ไก่ เป็ด ห่าน ติดต่อกรมปศุสัตว์
  • เครื่องวิทยุคมนาคมที่ไม่ได้รับการยกเว้นการขออนุญาตนำเข้า ติดต่อ กสทช.
  • เชื้อโรคและพิษจากสัตว์ เครื่องมือแพทย์ ติดต่อกรมวิทยาศาตร์การแพทย์
  • วัสดุต้นกำลัง วัสดุนิวเคลียร์พิเศษ ติดต่อสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ
  • น้ำมันเชื้อเพลิง ก๊าซปิโตรเลียมเหลว ติดต่อกรมธุรกิจพลังงาน
  • เครื่องจักรที่สามารถใช้เพื่อประโยชน์ในการละเมิดลิขสิทธิ์เพลง วีดีโอเทปแผ่นซีดี ติดต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา
  • ซากดึกดำบรรพ์ ซากดึกดำบรรพ์ที่ได้ถูกแปรสภาพ ติดต่อกรมทรัพยากรธรณี
  • สุรา ยาสูบ เมล็ดพันธุ์ยาสูบ ต้นยาสูบ ใบยา ยาอัด ไพ่ ติดต่อกรรมสรรพสามิต
  • วัตถุอันตรายชนิดที่ 2 และชนิดที่ 3 เศษพลาสติก เคมีบางประเภท ในความรับผิดชอบของกรมโรงงานอุตสาหกรรม ติดต่อกรมโรงงานอุตสาหกรรม
  • ปุ๋ย เมล็ดพันธุ์ควบคุมเพื่อกาค้า พืช ศัตรูพืช ใบ ดอก เมล็ด ตา กิ่ง ราก หรือส่วนหนึ่งส่วนใดที่อาจใช้เพาะพันธุ์ได้ ติดต่อกรมวิชาการเกษตร
  • สัตว์ป่าและซากสัตว์ป่าที่ไม่อยู่ในบัญชี CITES ติดต่อกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช
  • แร่และสินแร่ดีบุกหรือโลหะดีบุก ติดต่อกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและเหมืองแร่
  • เครื่องเลื่อยโซ่ยนต์ ติดต่อกรมป่าไม้ และกรมการค้าต่างประเทศ
  • เครื่องชั่ง ตวง วัด ที่ไม่ได้รับการยกเว้นการรับรอง ติดต่อกรมการค้าภายใน
  • อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง สิ่งเทียมอาวุธปืน ติดต่อกรมการปกครอง
  • ยุทธภัณฑ์ ติดต่อกรมการอุตสาหกรรมทหาร
  • โบราณวัตถุประเภทพระพุทธรูป เทวรูป รูปเคารพในศาสนา ชิ้นส่วนหรือองค์ประกอบของโบราณสถาน เงินตราโบราณ ติดต่อกรมศิลปากร

*สินค้าต้องกำกัด หมายถึง สินค้าที่มีกฎหมายควบคุมการนำเข้า-ส่งออก โดยการนำเข้าหรือส่งออกได้ จะต้องรับอนุญาตหรือปฎิบัติให้ครบถ้วนตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
0 Comments

สินค้าอะไรบ้างที่ต้องได้รับอนุญาตก่อนนำเข้ามาภายในประเทศ?

21/3/2016

0 Comments

 
Picture
การที่เราจะนำเข้าสินค้า เราต้องทำการศึกษาก่อนว่าสินค้านั้น เป็นสินค้าควบคุมการนำเข้า-ส่งออก หรือไม่ โดยเจ้าหน้าที่ศุลกากรจะมีหน้าที่ในการควบคุมการนำเข้า-ส่งออกของ*สินค้าต้องกำกัด โดยจะทำการตรวจว่าสินค้านั้นๆ ได้รับอนุญาตหรือปฎิบัติตามกฎหมายครบถ้วนหรือไม่  โดยมีหน่วยงานของภาครัฐ เป็นผู้ออกใบอนุญาตตามชนิดของสินค้าแต่ละประภท    เมื่อพิจราณาครบถ้วนแล้ว เจ้าหน้าศุลกากรจึงจะการทำอนุญาตให้นำสินค้านั้นๆ เข้ามาภายในประเทศได้ ดังนั้นไม่ว่าเราจะนำเข้าสินค้าอะไรเข้ามาก็ตาม เราควรศึกษาก่อนว่าสินค้านั้นๆ เป็นสินค้าควบคุมการนำเข้าหรือไม่

สินค้าควบคุมหรือสินค้าที่ต้องได้รับอนุญาตก่อนการนำเข้า และหน่วยที่ทำหน้าที่ในการออกใบอนุญาตของสินค้าแต่ละประเภท มีดังนี้
  • อาหาร เครื่องสำอาง ติดต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
  • ยา เภสัชเคมีภัณฑ์ ติดต่อกรมการค้าต่างประเทศ และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
  • รถยนต์ รถจักรยายนที่ใช้แล้ว เครื่องยนต์ที่ใช้แล้ว ติดต่อกรมการค้าต่างประเทศ
  • สัตว์น้ำและซากสัตว์น้ำ ติดต่อกรมประมง
  • ช้าง ม้า โค กระบือ ลา ล่อ แพะ แกะ สุกร สุนัข แมว กระต่าย ลิง ชะนี นก ไก่ เป็ด ห่าน ติดต่อกรมปศุสัตว์
  • เครื่องวิทยุคมนาคมที่ไม่ได้รับการยกเว้นการขออนุญาตนำเข้า ติดต่อ กสทช.
  • เชื้อโรคและพิษจากสัตว์ เครื่องมือแพทย์ ติดต่อกรมวิทยาศาตร์การแพทย์
  • วัสดุต้นกำลัง วัสดุนิวเคลียร์พิเศษ ติดต่อสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ
  • น้ำมันเชื้อเพลิง ก๊าซปิโตรเลียมเหลว ติดต่อกรมธุรกิจพลังงาน
  • เครื่องจักรที่สามารถใช้เพื่อประโยชน์ในการละเมิดลิขสิทธิ์เพลง วีดีโอเทปแผ่นซีดี ติดต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา
  • ซากดึกดำบรรพ์ ซากดึกดำบรรพ์ที่ได้ถูกแปรสภาพ ติดต่อกรมทรัพยากรธรณี
  • สุรา ยาสูบ เมล็ดพันธุ์ยาสูบ ต้นยาสูบ ใบยา ยาอัด ไพ่ ติดต่อกรรมสรรพสามิต
  • วัตถุอันตรายชนิดที่ 2 และชนิดที่ 3 เศษพลาสติก เคมีบางประเภท ในความรับผิดชอบของกรมโรงงานอุตสาหกรรม ติดต่อกรมโรงงานอุตสาหกรรม
  • ปุ๋ย เมล็ดพันธุ์ควบคุมเพื่อกาค้า พืช ศัตรูพืช ใบ ดอก เมล็ด ตา กิ่ง ราก หรือส่วนหนึ่งส่วนใดที่อาจใช้เพาะพันธุ์ได้ ติดต่อกรมวิชาการเกษตร
  • สัตว์ป่าและซากสัตว์ป่าที่ไม่อยู่ในบัญชี CITES ติดต่อกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช
  • แร่และสินแร่ดีบุกหรือโลหะดีบุก ติดต่อกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและเหมืองแร่
  • เครื่องเลื่อยโซ่ยนต์ ติดต่อกรมป่าไม้ และกรมการค้าต่างประเทศ
  • เครื่องชั่ง ตวง วัด ที่ไม่ได้รับการยกเว้นการรับรอง ติดต่อกรมการค้าภายใน
  • อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง สิ่งเทียมอาวุธปืน ติดต่อกรมการปกครอง
  • ยุทธภัณฑ์ ติดต่อกรมการอุตสาหกรรมทหาร
  • โบราณวัตถุประเภทพระพุทธรูป เทวรูป รูปเคารพในศาสนา ชิ้นส่วนหรือองค์ประกอบของโบราณสถาน เงินตราโบราณ ติดต่อกรมศิลปากร

*สินค้าต้องกำกัด หมายถึง สินค้าที่มีกฎหมายควบคุมการนำเข้า-ส่งออก โดยการนำเข้าหรือส่งออกได้ จะต้องรับอนุญาตหรือปฎิบัติให้ครบถ้วนตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง


0 Comments

การส่งออกสินค้าไปประเทศพม่า ที่ผู้ส่งออกควรรู้!!!

2/3/2016

0 Comments

 
Picture
ประเทศพม่าหรือเมียนมาร์กับประเทศไทยนั้น เป็นประเทศเพื่อนบ้านที่อาณาเขตติดต่อกันมีเขตแดนติดกันยาว 2,040 กม. ซึ่งถ้าหากคำนึงถึงด้านโลจิสติกส์แล้วจะพบว่า การขนส่งที่น่าจะมีประสิทธิภาพมากที่สุดคือ การขนส่งทางบก เนื่องจากมีราคาประหยัดและรวดเร็วกว่าขนส่งทางเรือ ด่านชายแดนที่นิยมใช้กัน คือด่านแม่สอด จังหวัดตาก ที่อยู่ตรงข้ามอำเภอเมียวดีของพม่า หากนับจากด่านแม่สอด เส้นทางถนนไปสู่กรุงย่างกุ้ง ซึ่งถือว่าเป็นเมืองหลักของการกระจายสินค้าไทย จะมีความยาวประมาณ 420 กม. ซึ่งถือว่าเป็นเส้นทางที่ใกล้ที่สุดและสะดวกที่สุด

​การขนส่งสินค้าโดยปกติ สินค้าไม่มีขนาดใหญ่และเป็นสินค้าอุปโภคบริโภคทั่วไปแล้ว จะนิยมใช้เส้นทางขนส่งทางบก ที่มีเส้นทางเชื่อมเมืองสำคัญต่างๆ ไปยังฝั่งพม่า แต่หากเป็นสินค้าขนาดใหญ่ หรือต้องการกำหนดวันที่แน่นอนของสินค้าที่จะส่งไปยังปลายทาง จะขนส่งทางเรือ ซึ่งจะใช้เวลาเดินทางไปถึงกรุงย่างกุ้งประมาณ 14 วัน (ซึ่งยังไม่นับรวมวันเวลาที่ใช้เดินเอกสารเพื่อการออกของ)  
*เอกสารที่ควรจัดเตรียมในการส่งออกสินค้าไปยังประเทศพม่า มีดังนี้  
  1. บัญชีราคาสินค้า (Comercial Invoice)
  2. บัญชีรายละเอียดบรรจุหีบห่อ P/L (Packing List)
  3. ใบตราส่งสินค้า B/L (Bill of Lading or Air Waybill)
  4. ใบอนุญาตส่งออกหรือเอกสารอื่นใดสำหรับสินค้าควบคุมการส่งออก

การใช้ระบบขนส่งทางบกผ่านด่านต่างๆ ที่ทั้งสองประเทศมีอยู่แล้ว จะใช้เวลาไม่เกิน 3 วัน ปัจจุบันด่านถาวรที่เชื่อมต่อระหว่างประเทศไทยกับประเทศพม่า มีอยู่ 5 ด่าน ดังนี้ 
  1. ด่านแม่สอด จังหวัดตาก อยู่ตรงข้ามเมืองเมียวดี 
  2. ด่านแม่สาย จังหวัดเชียงราย อยู่ตรงข้ามอำเภอท่าขี้เหล็ก ของพม่า 
  3. ด่านบ้านน้ำพุร้อน จังหวัดกาญจนบุรี อยู่ตรงข้ามกับเมืองทวาย 
  4. ด่านสิงขร จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ อยู่ตรงข้ามกับเมืองมะริด 
  5. ด่านระนอง จังหวัดระนอง อยู่ตรงข้ามกับเกาะสอง ของพม่า

*ดูรายละเอียดเพิ่มเติม พิธีการขาออกศุลกากร
      
0 Comments

นำเข้าสินค้า โดยเสียภาษีนำเข้า 0% ต้องทำไง?

17/2/2016

2 Comments

 
Picture

โดยปกติการนำเข้าสินค้าจะต้องเสียภาษีนำเข้าหรืออากรขาเข้าอยู่แล้ว แต่เนื่องจากบางประเทศ ประเทศไทยเราเองได้มีการทำ FTA (Free Trade Area) หรือเขตการค้าเสรีด้วย ทำให้ประเทศนั้นๆที่เรานำเข้าสินค้า เข้ามาภายในประเทศ จะเสียภาษีน้อยกว่าปกติหรือภาษีเป็น 0% เลยก็ว่าได้ ซึ่งทางกรมศุลกากร เรียกสิทธินี้ว่า การใช้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร ในการนำเข้าภายใต้ FTA สิทธิพิเศษทางภาษีนี้ทำให้ต้นทุนสินค้านำเข้าของผู้นำเข้าสินค้านั้นลดลงไปมาก หากผู้นำเข้าสินค้าไม่ได้ใช้สิทธิพิเศษนี้ก็จะต้องเสียเปรียบผู้ใช้สิทธิอย่างแน่นอน กลุ่มประเทศที่ทำ FTA กับประเทศไทยมีดังนี้
1.  ประเทศกลุ่มอาเซียน 10 ประเทศ
2.  เกาหลีใต้
3.  จีน
4.  ญี่ปุ่น
5.  ออสเตรเลีย
6.  นิวซีแลนด์
7.  เปรู
8.  ชิลี
​9.  อินเดีย
2 Comments

    Author

    ไม่มีการค้าใด ปราศจากการขนส่ง

    Archives

    August 2019
    June 2016
    March 2016
    February 2016

    Categories

    All

    RSS Feed

บริการของเรา

ขนส่งสินค้าทางอากาศ
ขนส่งสินค้าทางเรือ
พิธีการศุลกากร พร้อมขนส่ง

วี-เฟรนด์ 

เกี่ยวกับเรา
ทำไมต้อง วี-เฟรนด์
หน้าหลัก

ติดต่อเรา

Address: 818/89 ถนนอุดมสุข
แขวงบางนาเหนือ เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260
E-mail: Info@v-friendlogistics.com
Tel: 02-046-1924
Hotline:
094-556-3914, 099-196-2398
​ID Line: @vfriend
โทรติดต่อสอบถาม
Picture
© COPYRIGHT 2015. ALL RIGHTS RESERVED.